Tag SIS

Reliability Budgetary ในการออกแบบ SIF

Reliability Budgetary for SIF Designs มีคนเคยถามผมว่า ถ้าเราเลือกซื้อ Sensor ที่เป็น Certified SIL-2 มาใช้กับระบบ PLC SIL-2 และไปสั่งให้ Valve ที่ก็เป็นอุปกรณ์ Certified SIL-2 เช่นเดียวกัน ทำงาน อย่างนี้แล้วจะพูดได้หรือไม่ว่า Safety Function นั้นเป็น SIL-2 ??? อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว ระดับ SIL Level นั้น ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระดับ โดยแต่ละระดับจะถูกแบ่งตามความสามารถในการลดความเสี่ยง ซึ่งต่างกันระดับละ 10 เท่า ยกตัวอย่าง…

SIS ยิ่ง Test บ่อยๆ ยิ่งดี ???

SIS ยิ่ง Test บ่อยๆ ยิ่งดี ??? จริงหรือไม่? ที่ว่าระบบ SIS นั้น หากเราอยากให้มี Reliability หรือ Safety Integrity เพิ่มมากขึ้น เราก็แค่ทำ Proof test ให้มากขึ้น บ่อยขึ้น ถ้ายังไม่ดีอีก (บังเอิญอุปกรณ์ที่เลือกมาใช้ มีค่า Failure rate แย่มาก) ก็เพิ่มความถี่ของการ test ขึ้นไปอีกเพิ่มไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ค่า Reliability เป็นที่พอใจ เรียกได้ว่ามีแรงก็ทำกันไป …… คำตอบของคำถามนี้ คือ ……… ไม่จริง หากเรามองโดยผิวเผินจะพบว่า Reliability…

เมื่อไหร่จึงจำเป็นต้องใช้ Third Party ทำ SIL Study ??

เมื่อไหร่จึงจำเป็นต้องใช้ Third Party ทำ SIL Study ?? ช่วงที่ผมมีโอกาสทำงานเกี่ยวดองกับการประเมิน SIL ในหลายปีที่ผ่านมา มีอีกเรื่องหนึ่งที่เหล่าบรรดา Consulting Firm, Engineering Company หรือแม้แต่ Plant Owner เองมักจะพูดกันอยู่เสมอๆ คือ การประเมิน SIL นั้นควรจะทำโดย Third Party (บุคคลภายนอกบริษัท) หรืออย่างน้อยที่สุดถ้าจะทำกันเองภายใน ก็ให้ทำเฉพาะ Safety Function ที่มี SIL ต่ำๆ และให้ Third Party ทำการประเมิน Safety Function ที่มี…

ต่างกันอย่างไร? BPCS (DCS) vs SIS (ESD)

คำถามยอดนิยม อีกหนึ่งคำถามที่ว่า DCS กับ SIS (ESD) แตกต่างกันอย่างไร? และนำไปสู่อีกหลายคำถาม อย่างเช่น สามารถนำมาใช้แทนกันได้หรือไม่? แล้วจะมีผลอย่างไร? ผิดมาตรฐานหรือเปล่า? ก่อนจะอธิบายคำถามเหล่านี้ ขอเล่าให้ฟังก่อนว่า ในอุตสาหกรรมมักจะมองว่า SIS นั้นเป็นระบบที่ดีกว่า DCS ถึงขั้นมีการเขียนข้อกำหนด ให้ใช้ SIS เพื่อการควบคุมบางกระบวนการที่สำคัญเสียด้วยซ้ำ ซึ่งอันที่จริงแล้วไม่จริงเลย…. SIS และ DCS ต่างถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่มีข้อดีแตกต่างกัน จึงต้องถามต่อว่า วัตถุประสงค์ของตัวระบบที่ต้องการคืออะไร แล้วจึงค่อยถามต่อว่าระบบ DCS หรือ SIS จะเหมาะสม หรือดีกว่ากัน, ลองพิจารณาคุณสมบัติคร่าวๆ ของทั้งสองระบบดูนะครับ **ข้อมูลแสดงในรูป อ้างอิงจาก DCS…

เอกสาร Safety Life-Cycle ???

เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงการจัดทำเอกสาร Safety Life-cycle (SLC) ในระหว่างการทำโครงการอยู่บ่อยครั้ง และผู้เขียนบทความพบว่า ในอุตสาหกรรมยังมีความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในระหว่างโครงการอยู่บ้าง จนนำไปสู่การจัดทำเอกสารที่มากเกินความจำเป็นและยังสร้างความสับสนและขัดแย้งในเรื่องการจัดการระบบ SIS ของภายในบริษัทที่ทำโครงการเองอีกด้วย บทความนี้จึงขอเล่าเรื่องของ SLC คร่าวๆ พอให้ได้เป็นแนวคิดกันนะครับ Safety Life-cycle (SLC) คือ กรอบการจัดการของระบบ SIS ที่ครอบคลุมเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนการออกแบบ ออกแบบ นำไปใช้ แก้ไขเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งถึงการยกเลิกการใช้งานระบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของระบบการบริหารจัดการ และส่วนของขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ 1) ส่วนของระบบบริหารจัดการ ได้แก่– Management of Functional Safety and Functional Safety Assessment…

Mode of Operation for a Safety Instrumented function (SIF)

ก่อนที่เราจะเริ่มทบทวนการออกแบบ Safety Instrumented function สักระบบหนึ่ง (การทำ SIF Verification) เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจรูปแบบการทำงานของ SIF นั้นๆเสียก่อน การทำงานของ SIF ในรูปแบบต่างๆนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ ตาม IEC61508-4 (Clause 3.5.16 – Mode of Operation) ดังนี้ 1) Low Demand Mode หมายถึง รูปแบบการทำงานของ SIF ที่ถูกออกแบบให้ระบบทำงานในเวลาเมื่อเหตุการณ์อันตรายหนึ่งนั้นกำลังจะเกิดขึ้น (on demand) และอันตรายนั้นมีโอกาสเกิดไม่มากกว่า 1 ครั้งต่อปี 2)…

SIL Certification….. จำเป็นหรือไม่ ???

เมื่อต้องเลือกอุปกรณ์สักตัวหนึ่ง มาใช้ในระบบ Safety Instrumented System (SIS) คำถามที่ได้ยินกันอย่างหนาหู ก็คือ อุปกรณ์นั้นๆ จำเป็นต้องมี SIL Certification หรือไม่ …… ตอบสั้นๆได้เลย ตั้งแต่หัวเรื่องว่า ไม่จำเป็น !!! (จบละ ใครขี้เกียจจะอ่าน ไม่อยากรู้เหตุผล ก็ปิดได้เลย) อย่างไรก็ตาม ในโลกของเรานั้น ไม่มีทางที่เราจะได้สิ่งใดมาโดยไม่แลกกับการสูญเสียอีกสิ่งหนึ่งไป การเลือกอุปกรณ์ SIS ก็เช่นกัน …. อย่างในบริบทนี้ กล่าวคือ ถ้าเราไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ก็ใช้เงินซื้อความรู้เอา (Certification) แต่ถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจที่มากพอ ก็ใช้เงินน้อยลง ประหยัดเงินให้บริษัทได้มากขึ้น บทความนี้เราจะมาพูดถึง IEC61508-2 Clause…

Simplified Equation ในการทำ SIF Performance Verification

เชื่อว่าหลายๆท่านที่เคยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการคำนวนหาค่า PFDavg (Average Probability of Failure on Demand) เพื่อใช้ในการ Verify การออกแบบ SIF (Safety Instrumented Function) นั้น จะคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับ Simplified Equation หรือ สมการอย่างง่าย ที่เหล่า Course provider หลายๆที่ มักจะใช้ในการบรรยายอยู่บ่อยครั้ง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า สมการอย่างง่ายเหล่านั้นถูกใช้เพื่อการบรรยายถึงความแตกต่าง และผลจากการออกแบบ SIF voting configuration ที่แตกต่างกันเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการ verify การออกแบบ SIF ของเราได้จริงในบางกรณี เพราะอันที่จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญที่ต้องถูกพิจารณาด้วยทุกครั้ง นั่นคือ CCF…